Beer 101

เบียร์ประเภทต่างๆที่คอเบียร์ต้องรู้จัก 

รู้หรือไม่ ว่า เบียร์ ที่พวกเราชาวไทยดื่มกันอยู่นั้นไม่ได้มีเพียงแค่ชนิดเดียวแต่วงการเบียร์แล้วนั้นมีประเภทของเบียร์อยู่หลากหลายชนิด แล้วแต่ละชนิดจะมีรสชาติอย่างไรบ้าง เรามาเปิดกรุความรู้ บุกหลังบาร์ ถึงประเภทของเบียร์ที่มีอยู่ รสชาติ ลักษณะของแต่ละประเภทที่คอเบียร์ยังไงก็ห้ามพลาด! 

เบียร์ (Beer) ถือเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของใครหลายๆคนและของผู้คนในหลากหลายประเทศอีกด้วย เนื่องจากการดื่มเบียร์นั้นไม่สลับซับซ้อน และหาดื่มได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ หรือผับบาร์ทั่วไป สามารถแบ่งประเภทของเบียร์ตามระดับอุณหภูมิของเบียร์และยีสต์ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  Ale, Lager และ Lambic

  • Ale Beer (เอล เบียร์)

: ผลิตโดยใช้อุณหภูมิอยู่ที่ 18- 24 องศาเซลเซียส และหมักแบบ Top-Fermenting Yeast (ยีสต์หมักลอยผิว) คือการที่ยีสต์จะลอยอยู่ที่ผิวหน้าของเบียร์เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมัก ความโดดเด่นของเบียร์เอลนั้น อยู่ที่รสชาติค่อนไปทางหวาน, มีสีหลากหลาย ตั้งแต่ทองสว่าง จนถึงสีน้ำตาล โดยแตกต่างกันไปตามเมล็ดข้าวที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต สามารถแบ่งแยกย่อยได้ดังนี้

  • Wheat Beer (วีทเบียร์) / Witbier (วีทเบียร์)

: เบียร์สีเหลืองอ่อน หมักจากข้าวสาลี ทำให้มีบอดี้ที่แน่น และชั้นฟองที่หนาละเอียด มีรสซ่า ไม่ขม มีกลิ่นมอลต์ เปลือกส้มและเมล็ดผักชี ลื่นคอ ดื่มง่ายเหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นการดื่มเบียร์

  • Hefeweizen (เฮเฟอไวเซ็น)

: สไตล์ยอดนิยมของเบียร์เยอรมัน ดื่มง่าย ถูกปากคนไทย มักจะมีกลิ่นผลไม้ที่เกิดจากฮ็อปส์จางๆ มักมีคนสับสนกับ Wheat Beer บ่อยๆ ให้รสสัมผัสของกล้วย, การพลู และ แอปเปิ้ล เหมาะกับการดื่มในทุกช่วงโอกาส

  • Pale Ale (เพลเอล)

: ลักษณะที่สะดุดตาด้วยสีเหลืองทองสว่าง บอดี้ที่บาง กลิ่นซิตรัสจางๆ รสชาติฮ็อปส์เต็มๆและตามมาด้วยสัมผัสของข้าวมอลต์ ให้รสชาติที่สดชื่น กลมกล่อม ดื่มง่าย มีสัมผัสสมดุล ดื่มได้ทุกโอกาส

  • IPA (ไอพีเอ)

: IPA หรือย่อมาจาก India Pale Ale เป็นเบียร์สีส้มออกทองแดง บอดี้เข้มข้น ฟองเบียร์สวย แอลกอฮอล์ที่สูงและยังมีรสชาติที่สมดุลเป็นเอกลักษณ์ด้วยรสฮ็อปส์และยีสต์ที่โดดเด่นประกอบกับกลิ่นผลไม้จางๆ

  • Amber Ale (แอมเบอร์ เอล)

: เบียร์ที่มีชื่อตามสีที่ดูคล้ายกับสีของอัมพัน รสชาติออกไปทางหวาน เพราะมีสัดส่วนข้าวมอลต์ที่สูง ไม่มีกลิ่นฮ็อปส์ที่รุนแรง แต่จะแทนที่ด้วยกลิ่นคาราเมล ดอกไม้บาง ๆ และซิตรัสอีกเล็กน้อย

  • Stout (สเตาท์)

: Ale ชนิดดำ ที่นำข้าวมอลต์หรือข้าวบาร์เลย์ไปคั่วก่อนจะนำไปหมักและผสมฮ็อปส์เพียงเล็กน้อย จึงให้รสชาติค่อนข้างหวานนุ่มนวล ลึก และให้กลิ่นหอมคล้ายโกโก้ เมล็ดกาแฟคั่วหรือวานิลลา

  • Porter (พอร์เตอร์)

: คล้ายกับสเตาท์ มาพร้อมบอดี้ที่หนักแน่นและเข้มข้น ผลิตจากข้าวมอลต์ที่ผ่านการคั่วและอบ ด้วยความร้อนที่สูงกว่าสเตาท์ สัดส่วนฮ็อปส์ที่สูงกว่า ทำให้มีปริมาณแอลกอฮอล์ที่สูง แต่ในขณะเดียวกันให้รสสัมผัสที่สดชื่น

  • Lager Beer (ลาเกอร์ เบียร์)

: ผลิตโดยใช้อุณหภูมิต่ำกว่า Ale อยู่ที่ 7-12 องศาเซลเซียส หมักแบบ Bottom-Fermenting Yeast หรือยีสต์ที่จมอยู่ที่ก้นภาชนะเมื่อเสร็จสิ้นการหมัก เบียร์ลาเกอร์มีคาแรคเตอร์ที่สดชื่น สะอาด และนุ่มนวล สามารถแบ่งแยกย่อยได้ดังนี้

  • Pale Lager (เพลลาเกอร์)

: ชนิดของลาเกอร์ได้รับความนิยมมากที่สุด มีสีบลอนด์ทอง สีใส พร้อมรสสัมผัสของมอลตที่หนักแน่น ให้รสสัมผัสที่สดชื่น คลีน ชั้นฟองที่ละเอียด ดื่มง่าย

  • Pilsner (พิลส์เนอร์)

: มีต้นกำเนิดจากสาธารณรัฐเชค มีความคล้ายคลึงกับเพลลาเกอร์ บอดี้บาง ดื่มง่าย ให้รสสัมผัสคลีน คม ให้รสหวานมอลต์เล็กน้อยและมีกลิ่นหอมจางๆจากมอลต์และฮ็อปส์

  • Bock (บ็อค)

: ต้นกำเนิดจากแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมัน มีสีเข้มจากการนำมอลต์ไปคั่วหรือที่เรียกว่า Dark Malt มีรสชาติมอลต์หนักแน่น โดดเด่นด้วยกลิ่นของฮ็อปส์และมอลต์ 

  • Dunkel (ดุงเคล)

: ลาเกอร์อีกชนิดที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูง มีอีกชื่อเรียกคือ “เบียร์ดำ” จากความเข้มข้นของสีที่เข้ม มีรสชาติของมอลต์ที่นุ่มนวลและรสชาติช็อคโกแลต กาแฟ และชะเอม เป็นสไตล์ที่นิยมและพบเห็นได้ในกรุงมิวนิก

  • Lambic Beer (ลัมบิค เบียร์) 

: ผลิตจากยีสต์ชนิดพิเศษ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเบลเยี่ยม และในปัจจุบัน กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลก มักจะมีรสชาติเปรี้ยวสดชื่น วิธีการผลิต Lambic Beer ตามประเพณีดั้งเดิม คือ ผลิตในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่สิงหาคม จนถึงเมษายน โดยบ่มในถังไม้โอ๊คก่อนนำมาดื่ม สามารถแบ่งแยกย่อยได้ดังนี้

  • Lambic (unblended)

: เบียร์ตรงออกจากถังหมัก แบบไม่มีการผสมใดๆทั้งสิ้น เรียกว่ารสชาติเป็นแบบถังต่อถังกันเลยทีเดียว ถังไหนเปรี้ยวมาก เปรี้ยวน้อย ก็กินกันแบบตรงไปตรงมา (ซึ่งส่วนใหญ่จะเปรี้ยวมาก คล้ายน้ำส้มสายชู) ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก 

  • Gueuze (เคอซ)

: การเอาแลมบิคอายุอ่อน(อายุน้อยกว่า 1 ปี) ไปผสมกับแลมบิคอายุมาก (แลมบิคอายุ2-3 ปีขึ้นไป) จนได้เป็นรสชาติอีกแบบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฝืมือของคนผสม(Blend Master) ด้วยกว่าจะใช้สัดส่วนเท่าไหร่ในการผสม เบียร์ประเภทนี้จะมีรสชาติที่ดื่มง่ายกว่าแลมบิคที่ยังไม่ได้ทำการเบลน แต่ก็ยังคงรสชาติที่เปรี้ยวนำเช่นกัน

  • Faro (ฟาโร)

: แลมบิคแอลกอฮอล์ต่ำที่เกิดจากการเอาแลมบิคที่ยังอยู่ในช่วง การหมัก(fermentation) ครั้งแรกหรือที่เรียกกันว่า “Gueuze ที่เอามาเติมน้ำตาลทรายหรือคาราเมล หรือเติมสมุนไพรต่างๆลงไป เพื่อให้ดื่มง่ายขึ้น โดยสัดส่วนการผสมนั้นขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละโรงเบียร์

  • Fruit Lambic

: แลมบิคที่มีการเพิ่มส่วนผสมของผลไม้เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติ ให้มีความซับซ้อนและน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยชื่อเรียกของแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทของผลไม้ เช่น

  1. Kriek (ครี๊ก) : แลมบิคที่เติมเชอรี่เปรี้ยวลงไปหมักเพิ่ม อาจใส่แบบเป็นลูกสดๆ หรือน้ำเชื่อม จากนั้นก็ปล่อยให้หมักต่อไปอีกประมาณ 1 ปีขึ้นไป
  2. Framboise (แฟรมบัวส์) : แลมบิคที่เติมราสเบอร์รี่ลงไปหมักเพิ่ม
  3. Pêche : แลมบิคที่เติมพีชลงไปหมักเพิ่ม
  4. Cassis : แลมบิคที่เติมแบลคเคอแรนท์ลงไปหมักเพิ่ม
  5. Aardbei : แลมบิคที่เติมสตอเบอรี่ลงไปหมักเพิ่ม

สิ่งที่ทำให้เบียร์เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก นอกจากรสชาติของเบียร์ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละประเภท และ กรรมวิธีในการผลิตที่มีเอกลักษณ์ของแต่ละประเภทแล้วนั่น ก็คือการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงรสชาติของเบียร์แต่ละแบบแต่ละประเภทได้อย่างทั่วถึงกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นใดก็ตาม

boozeforlife

Articles You Might Like

Share This Article

Get Your Weekly Sport Dose

Subscribe to TheWhistle and recieve notifications on new sports posts